ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางการดำเนินงาน
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน ปีการศึกษา 2558-2559
ผู้รายงาน : นายประทีป ศรีรักษา
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน ปีการศึกษา 2558-2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากรความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่ การบริหารจัดการและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินโครงการและการจัดกิจกรรมต่างๆ ด้านผลผลิต ของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานตามองค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ และด้านผลลัพธ์ของโครงการเกี่ยวกับประโยชน์หรือผลกระทบที่นักเรียน ครูและโรงเรียนได้รับจากโครงการ ได้แก่
1) พฤติกรรมด้านสุขภาพของครูเพื่อการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และเป็นแบบอย่างได้
2) ภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทาง ทันตกรรม การ
เจ็บป่วยและอุบัติเหตุ และ
3) สมรรถภาพทางกาย ของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่
แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ แบบบันทึก
ข้อมูลการตรวจสุขภาพของนักเรียนและแบบบันทึกข้อมูลสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียน
ตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ
ของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่น แต่ละฉบับระหว่าง .965 - .983
 
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทาง การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D.= 0.77) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทาง การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทาง การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ โรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ ได้แก่
4.1ผลการประเมินพฤติกรรมด้านสุขภาพของครูเพื่อการมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีและเป็นแบบอย่างได้โรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน ปีการศึกษา 2558- 2559 ตามความคิดเห็นครู และนักเรียน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมาก ( = 4.64, S.D.= 0.52 และ = 4.32, S.D.= 0.73) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน ปีการศึกษา 2558-2559 โดยรวมภาวะสุขภาพนักเรียนปกติ อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 94.18 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายของนักเรียน รายการวิ่งเร็ว 50 เมตร ยืนกระโดดไกล ลุกนั่ง 60 วินาที วิ่งเก็บของ และนั่งงอตัวไปข้างหน้า โดยภาพรวมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนปกติ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 89.57 ผ่านเกณฑ์ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
 
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรดำเนินการตามนโยบาย และมีการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติให้ทุกฝ่าย เช่น บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบ
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพอย่างแท้จริง ควรมีการจัดสรรหรือสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
3. การดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นความร่วมมือกันระหว่างกระทรวง
สาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบ สนอง ต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของเยาวชนควบคู่กันไปกับการพัฒนา
การศึกษา
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาภาวะสุขภาพของนักเรียนระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
2. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพที่ดี กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่ง
เสริมสุขภาพ และโครงการอื่น ๆ ที่โรงเรียนได้ดำเนินการโดยใช้รูปแบบอื่น ๆ
4. ควรมีการวิจัยเพื่อการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมี
ส่วนร่วม