ชื่อเรื่องวิจัย รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus เพื่อพัฒนา
ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางบุญสม ท้าวทอง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)
กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 96 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group) กลุ่มละ 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนห้องเรียนละ 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus โดยใช้นิทานพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ ทำการทดลอง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ใช้เวลาในการทดลอง 20 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Pretest-Posttest Control Group Design สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้สำหรับทดสอบสมมุติฐานคือ t-test (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus โดยใช้นิทานพื้นบ้าน พบว่าประสิทธิภาพ ( / ) เท่ากับ 81.14/82.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียน
ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus โดยใช้นิทานพื้นบ้านหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวคิด KWLH Plus ที่ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด