ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
เรื่อง การผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางวิไลรัตน์ ทองลอย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการผูกลายไทย
ขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ยังขาดสื่อการเรียนการสอนที่เป็นแบบฝึกทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาแบบฝึกทักษะมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีชุดฝึกทักษะเป็นแนวในการฝึกปฏิบัติสามารถแสวงหาความรู้โดยการฝึกฝนจากผู้สอนและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองรวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฝึกทักษะ จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ .25 ถึง .76 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .25 ถึง .87 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .865 และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ .942 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายในกลุ่มโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.98/85.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของเพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.737 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.77
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนสอบหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับ มาก
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาศิลปะไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการผูกลายไทยขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพและมีดัชนีประสิทธิผลเหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เป็นสื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติตามให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของการเรียน เป็นตัวอย่างในการพัฒนาในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป