ผู้วิจัย ยุพาวดี วรวิบูลย์สวัสดิ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล จังหวัดระยอง จำนวน 32 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่ม แบบกลุ่ม โดยใช้วิธีจับฉลากเลือกมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผน การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC จำนวน 9 แผน รวม 27 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.47 0.67 ค่าอำนาจจำแนก (D) อยู่ระหว่าง 0.60 0.90 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเขียนตอบ จำนวน 5 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.62 0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.47 0.77 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.54/77.21 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75
2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC มีค่าเท่ากับ 0.6566 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน 0.6566 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.66
3. ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน ( = 23.53, S.D. = 2.79) โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนเรียน ( = 11.72, S.D. = 2.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน ( = 76.84, S.D. = 5.30) โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนเรียน ( = 32.38, S.D. = 8.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
5. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ( = 70.91, S.D. = 3.36) หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนเรียน ( = 52.88, S.D. =9.79) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
6. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = .06)
Thesis Title The Development of English Reading, Writing ability
and Achievement Motivation of Prathomsuksa 4
Students using CIRC Learning Approach
Author Mrs.Yupawadee Worawibunsawat
Academic Year 2018
ABSTRACT
The purpose of this research were 1) to study the plans efficiency of CIRC Learning Approach with a required efficiency of 75/75 2) to find out effectiveness indices of these to developed learning plans 3) to compare reading, writing ability and achievement motivation of Prathomsuksa 4 students before and after using CIRC learning approach and 4) to study students satisfaction toward the instruction activities based on CIRC learning approach
The samples of this study were 32 Prathomsuksa students of Tessabanwatlummahachaichumpol school enrolled in the first semester of 2017 academic year, selected by cluster random sampling. The instruments used were: 1) 9 lesson plans for 27 hours 2) an English reading ability test 30 items with difficulties ranging 0.47-0.67, discriminating power ranging 0.60-0.90 and a reliability of 0.82 3) an English writing ability, 5 items with difficulties ranging 0.62-0.67, discriminating power ranging 0.47-0.77 and a reliability of 0.87
4) an achievement motivation with a reliability of 0.85 5) a questionnaire for students satisfaction toward the instruction activities based on CIRC learning approach with a reliability of 0.84. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test for Dependent Sample.
The results were as follows:
1. The plans of CIRC learning approach had the efficiencies of 75.54/77.21 respectively.
2. The plans of CIRC learning approach had the effectiveness indices of 0.6566 respectively.
3. The students English reading ability before and after using CIRC learning approach was statistically significant different at the .01 level. The mean score of English reading ability of the students after the instruction were higher than before the instruction.
4. The students English writing ability before and after using CIRC learning approach was statistically significant different at the .01 level. The mean score of English reading ability of the students after the instruction were higher than before the instruction.
5. The students achievement motivation before and after using CIRC learning approach was statistically significant different at the .01 level. The mean score of English reading ability of the students after the instruction were higher than before the instruction.
6. The students satisfaction toward the instruction activities through CIRC learning approach was rated at the highest.