ชื่อผลงานวิชาการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัย
รักการอ่านโดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2560-2561
ชื่อผู้รายงาน นางธรินทร์รัษฎิ์ ทองสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยเร็จ
ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2560-2561
บทสรุป
วัตถุประสงค์
รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน และส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ ได้แก่ คุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561 ทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียน ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561 การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนา ทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
วิธีดำเนินการ
การประเมินครั้งนี้ศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 43 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 คน ครู ศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 43 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 และ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้นคือ ขั้นที่1 สร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 กิจกรรมหลากหลาย โดยแบ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน สำหรับนักเรียนแต่ละช่วงชั้นและตามศักยภาพของผู้เรียน ดังนี้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน ระดับชั้น ป.1-ป.3 1) กลุ่มวางใจ ได้แก่ ตารางหรรษาพาสนุก ตาไวได้แต้มตอบปัญหาล่ารางวัล 2) กลุ่มห่วงใย ได้แก่ บอกใบ้ ทายคำ เรื่องเล่า 5 บรรทัด 3) กลุ่มใกล้ชิดได้แก่คลินิกภาษาไทย เกมบิงโก ระดับชั้น ป.4-ป.6 1) กลุ่มวางใจ ได้แก่ หนังสือเล่มเล็ก เอื้ออาทรพี่สอนน้อง หรรษาจากพจนานุกรมไทย Mind Map ผังความคิดพิชิตการอ่าน เสริมทักษะอ่านคิดเขียนด้วย E Book 2) กลุ่มห่วงใย วิเคราะห์ข่าวก้าวทันโลก สนุกกับคำศัพท์ภาษาไทย หรรษาจากพจนานุกรม ตะกร้าความรู้สู่นักเรียน สุขหรรษาจากการเล่าเรื่อง 3) กลุ่มใกล้ชิด คลินิกภาษาไทย ปริศนาภาพถ่าย รู้ไว้ได้รางวัลและกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนทุกคน ได้แก่ ภาษาไทยวันนี้ วางทุกงานอ่านทุกคน หนังสือเล่มโปรด มอบหนังสือให้ลูกรัก หนูน้อยยอดนักอ่าน คาราวานรักการอ่าน การอ่านบูรณาการวันสำคัญ แนะนำหนังสือดีที่ควรอ่าน ขั้นที่ 3 ผลสัมฤทธิ์มากมาย และขั้นที่ 4 ปลายทางยั่งยืน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ โดยมีลักษณะเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.92-0.99 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินโครงการ
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมโครงการ พบว่า ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่าน เกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2561 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ พบว่า ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการ พบว่า ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการได้แก่
1) ด้านคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน และส่งเสริมนิสัย รักการอ่านนักเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2561โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2) ด้านเกี่ยวกับทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3) ด้านการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาทักษะ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4) ด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะในการนำผลการดำเนินงานไปใช้
จากการรายงานการประเมินโครงการการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนบ้านห้วยเร็จ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560-2561 มีข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการรายงานการประเมินโครงการ ไปใช้ดังนี้
1.1 การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรมีการสร้างความตระหนักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านและควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาครูให้ใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา ให้ค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการพัฒนาเน้นทักษะวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียนก่อเกิดผลสัมฤทธิ์มากมายเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชนเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นได้
1.2 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิด ปลายทางยั่งยืน โรงเรียนปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และเป็นโรงเรียนรักการอ่าน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น มีทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน และนิสัยรักการอ่าน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ตรงตามความจำเป็นของสังคมปัจจุบัน
1.3 ผู้บริหารเป็นที่ปรึกษา หรือให้คำแนะนำให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล มีความยุติธรรม มีความเป็นกลางเป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการทั้งเป็นกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระและเป็นรายบุคคล แบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนและการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)