การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ ในการการพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง งานไม้สวยด้วย SketchUp รายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง งานไม้สวยด้วย SketchUp
รายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง งานไม้สวยด้วย SketchUp รายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4) ประเมินผลการใช้และปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่น ด้านผลการเรียนรู้ เรื่อง งานไม้สวยด้วย SketchUp ความสามารถในการปฏิบัติงานออกแบบงานไม้ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง งานไม้สวยด้วย SketchUp จำนวน 33 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เป็นเวลา 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร แบบทดสอบ แบบประเมินผลงาน ภาคปฏิบัติ แบบสอบถามความ
คิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่านักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง งานไม้สวยด้วย SketchUp เน้นรูปแบบของการพัฒนาการ เรียนรู้จาก สภาพแวดล้อมรอบตัว โดยการออกแบบและพัฒนาบริเวณโรงเรียน มีครูผู้สอนและ ผู้เชี่ยวชาญงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ เข้ามาจัดการเรียนรู้และประเมินผล 2) ผลการพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร/เวลาเรียน หน่วยการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย (1) ความรู้พื้นฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ (2) การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้
(3) การออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้ (4) การจัดตกแต่งผลิตภัณฑ์งานไม้ (5) การสรุปประเมินผลการออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้ จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค กระบวนการกลุ่ม และกระบวนการแก้ปัญหา การตรวจสอบประสิทธิภาพ พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ และร่วมมือกันในการทำกิจกรรมกลุ่ม ออกแบบและการปฏิบัติงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ตาม วัตถุประสงค์ 4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้ ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
. 05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นักเรียนมีความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก