ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความ
สามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวปิยวดี คงช่วย
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอน 2) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และ6) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า PASIEE Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ4) เงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ สำหรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ชวนสงสัย (Persuade) 2) สืบค้นข้อมูล (Ascertain) 3) ไขปัญหา (Solve) 4) ตรวจสอบผลลัพธ์ (Investigation) 5) ขยายความคิด (Extend the idea) และ6) ประเมินผล (Evaluation) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.91/82.26 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2.ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นดังนี้
2.1 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก