ชื่อวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย วรารัตน์ ปิ่นทองพันธุ์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการการเรียนรู้การเขียนลายไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสงขลา 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา รายวิชาลายไทย 2 ศ32302 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาวิจัย มี 8 ชุด คือ 1) แบบสอบถามปลายเปิดข้อมูลพื้นฐานและความต้องการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2) แบบสอบถามความต้องการการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการประยุกต์ใช้ลายไทย จำนวน 6 แผน 5) แบบประเมินการประยุกต์ใช้ลายไทย 6) แบบประเมินทักษะการเขียนลายไทย 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และ 8) ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ใช้เวลาเรียนในตารางเรียน เวลา 20 ชั่วโมง และนอกเวลาเรียน เวลา 8 ชั่วโมง รวมเวลา 28 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและความต้องการการเรียนรู้การเขียนลายไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า สถานศึกษาจัดให้มีหลักสูตรรายวิชาลายไทย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเห็นด้วย เพราะเป็นการศึกษาเรียนรู้ลายไทยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของลายไทย ควรให้มีการจัดนิทรรศการ แสดงผลงานของนักเรียน ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาลายไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทยของนักเรียนสู่การประกอบอาชีพ ส่วนผลการศึกษาความต้องการการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีทั้งหมด 6 ชุด
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ / เท่ากับ 83.73/83.20
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุดการเรียนรู้ พบว่า การพัฒนาการเขียนลายไทยด้วยชุดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 48.96 คิดเป็นร้อยละ 81.60 การปฏิบัติงานพัฒนาทักษะการเขียนลายไทยของนักเรียน จากชิ้นงานทั้ง 3 ชิ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.96 คิดเป็นร้อยละ 83.20 ผลการประยุกต์ใช้ลายไทย ของนักเรียน ได้คะแนนเฉลี่ย เรียงตามลำดับมากไปหาน้อย คือ การนำไปใช้ (คะแนนเฉลี่ย 3.76) การปฏิบัติงาน (คะแนนเฉลี่ย 3.52) ความประณีตสวยงาม (คะแนนเฉลี่ย 3.48) ความคิดสร้างสรรค์ (คะแนนเฉลี่ย 3.44) และการใช้วัสดุอุปกรณ์ (คะแนนเฉลี่ย 3.28) และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทำให้นักเรียนมีทักษะการเขียนลายไทยเพิ่มมากขึ้น
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การประยุกต์ใช้ลายไทย พบว่า การนำไปใช้ มีผลการประเมินสูงสุด ส่วนการปฏิบัติงาน รองลงมา ส่วนความประณีตสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้วัสดุอุปกรณ์ ต่ำสุดตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนลายไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก