ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นายพีระ นเรวรรณ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
ปีที่เผยแพร่ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลการรูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยขั้นศึกษาสภาพปัญหาคือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้ที่ 2 การเขียน แนวคิดทฤษฏี หลักการ เนื้อหาสาระ รูปแบบ วิธีการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขั้นการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 คือ (1) ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถด้านเนื้อหาทางภาษาไทย จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถด้านวิจัยและวัดผลประเมินผล จำนวน 2 ท่าน (2) กลุ่มทดลองรายบุคคล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 3 คน กลุ่มเล็ก ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน กลุ่มภาคสนาม ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ขั้นศึกษาผลการใช้และขั้นศึกษาความพึงพอใจในชุดกิจกรรมการเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด จำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) แบบวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (2) แบบวิเคราะห์แนวคิดทฤษฏี หลักการ เนื้อหาสาระ รูปแบบ วิธีการ ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) แผนการจัดเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (5) แบบประเมินทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติ ที่ใช้ คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยให้มีรูปแบบที่เหมาะสม มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมสอดคล้องกับหน่วยการจัดการเรียนรู้ โดยเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติแบบ Active Learning การทำกิจกรรมกลุ่ม ฝึกการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรื่องที่นำมาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ มีเนื้อหาจากความต้องการและความสนใจของนักเรียนเป็นสำคัญ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.50/83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ทักษะด้านการเขียนเรียงความ หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ อยู่ในระดับมาก