บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้
แบบผสมผสาน วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพและดัชนี
ประสิทธิผล ตามเกณฑ์ที่กาหนด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนโปรแกรม
ภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน
ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้
คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์ อาเภอ
กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จานวน 30 คน ซึ่งได้มาโดย
วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยในครั้งนี้ มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน
2) บทเรียนออนไลน์วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน
40 ข้อ มีค่าอานาจจาแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.30-0.70 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.892
4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการเขียนโปรแกรม
ภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 83.75/83.50 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
80/80
2. กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการเขียนโปรแกรม
ภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7283 หรือคิดเป็นร้อยละ
72.83
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนว
การเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการ
เรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการเขียน
โปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพทาให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น จึง
สามารถนาไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง นอกเวลา
เรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาการ
เขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี
สามารถนาไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุผลตามหลักสูตรได้และสามารถนาไป
ประยุกต์ใช้กับกลุ่มสาระอื่นๆ ได้ต่อไป