ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 ชื่อผู้วิจัย : นายอะห์หมัด สาและ
ปีการศึกษา : 2560 - 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 3) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 ดังนี้ 3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 3.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT และ O-NET) 3.3 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาการผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา
2560-2561
กลุ่มป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 77 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน ครู ปีการศึกษา 2560 จำนวน 17 คน
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 77 คน
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 7 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.98 - 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows V.18
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โรงเรียนบ้านเกาะจัน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย( = 3.78,S.D. = 0.60) คุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2561 หลังการพัฒนาโดยภาพรวม
ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย( = 4.67,S.D. = 0.49) มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โรงเรียนบ้านเกาะจัน
ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน
มีค่าเฉลี่ย ( = 3.61,S.D. = 0.54) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2561 หลังการพัฒนา
โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.70,S.D. = 0.45) มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน ภายหลังการพัฒนา
ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของ
นักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะจันชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2560 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ทั้ง 8 กลุ่มสาระ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 68.05 และเมื่อดำเนินการใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาในปีการศึกษา 2561 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น มีคะแนนรวมเฉลี่ย 71.90
โดยมีค่าพัฒนา 3.86 สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.2 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 56.19 ปีการศึกษา 2561 โดยมีค่าเฉลี่ย 61.01 แสดงให้
เห็นว่าปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2560 โดยมีค่าพัฒนา 4.82 สอดคล้องกับ
สมมติฐาน
3.3 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 42.58 ปีการศึกษา 2561 โดยมีค่าเฉลี่ย 34.57
แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 8.01
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า ปีการศึกษา 2560 โดยภาพทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย ( = 3.51,S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2561 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ย
( = 4.66,S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุดสอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
1.1 สถานศึกษาควรชี้แจงและทำความเข้าใจเพื่อสร้างความตระหนักให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการศึกษาปัญหา กำหนดกรอบกิจกรรมและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากทุกภาคส่วน อีกทั้งใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.2 หลังการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนควรมีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูอย่างต่อเนื่อง ในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ การใช้กิจกรรมโครงงานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความถาวรของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.2 ควรศึกษารูปแบบหรือกลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนหรือการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในลักษณะอื่น