ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ผู้วิจัย นางสุภัทธา จริตรัมย์
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ 4) ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบ สถิติ t - test (Dependent Samples)และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเป็นการสำรวจความสำคัญของกระบวนการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การศึกษาต้องเน้นความสำคัญ ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง K P A สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 หมวด 4 มาตรา 22 2) การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการศึกษา การพัฒนาผู้เรียน มีคุณธรรมจริยธรรม หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประกอบด้วย สาระศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต สาระเศรษฐศาสตร์ สาระประวัติศาสตร์ โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม 3) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบปัญหา การจัดการเรียนการสอน ครู ผู้เรียน มีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับภารกิจของผู้เรียน ผู้เรียนมี พื้นฐานความรู้ ความสามารถ ทักษะกระบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4) วิเคราะห์การจัดการสอนจากครูผู้มีประสบการณ์ด้านการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถแก้ปัญหาด้านสื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมทั้งปัญหาการสอนของครู 5) วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี สาระสำคัญ ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นนำเสนอบทเรียน (2) ขั้นทำงานร่วมกันเป็นทีม (3) ขั้นการทดสอบย่อย (4) ขั้นการพัฒนาการตนเอง และ(5) ขั้นได้รับการยกย่อง
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า มีประสิทธิภาพ 82.04/83.56 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60 ถือว่าผ่านเกณฑ์ การประเมิน