ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
ผู้รายงาน :สุชาดา บุญแต่ง
ปีที่ศึกษา : 2560
หน่วยงาน : โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ ของชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพิบูลมังสาหารให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ด้วยชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาโดยใช้ระยะเวลาทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1ปการศึกษา 2560 ใช้เวลาในการสอน 11 ชั่วโมง มีการสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 13 ชั่วโมง โดยสอนสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/ 3ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง คละความสามารถ เก่ง ปานกลางและอ่อน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้จำนวน 11ชุด ดังนี้
1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของ แบบทดสอบท้ายกิจกรรม จำนวน
11ชุด ชุดละ 20 ข้อ
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของ จำนวน ชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต
เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 40 ข้อ
3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและ
สังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้จำนวน 20 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
1. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC :
Index of Item Objective Congruence) ค่าความยาก (p) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (KR- 20) ค่าอำนาจจำแนก (r)
2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ทดสอบสมมติฐานผลสัมฤทธิ์ (t test Dependent) และทดสอบสมมติฐานดรรชนีประสิทธิผล (The Effectivenness index)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพ ของชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้(E1/E2 = 87.46/85.82 )ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้และเมื่อพิจารณาโดยแยกเป็นชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ E1/E2 = 80/80ทุกชุด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย
( = 4.58, S.D. = 0.63)
การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ชุดแบบฝึกหัดทักษะชีวิต เรื่อง ทักษะชีวิตและสังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมแนะแนวที่สูงขึ้น นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้และการทำกิจกรรมมีความกระตือรือร้นที่จะเรียน เป็นแนวทางให้ครูผู้สอนวิชาแนะแนวนำไปประยุกต์ใช้ในเนื้อหาเรื่องอื่นๆ ต่อไป