ชื่อเรื่อง : การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ท้องฟ้าน่ารู้ ที่มีต่อความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย : นางวรรณี ศรีวิชัย
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี
การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ท้องฟ้าน่ารู้ ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75
3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ท้องฟ้าน่ารู้ ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ท้องฟ้าน่ารู้ ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มเป้าหมายคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 47 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด 
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.38, S.D. = 0.04) และมีความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด
(X = 4.64, S.D. = 0.09)
2. กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ เป็นขั้นที่นักเรียนจะได้รับรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ขั้นทบทวนความรู้เดิม เป็นขั้นที่นักเรียนจะแสดงออกถึงความรู้ความ เข้าใจเดิม ที่เคยเรียนหรือเคยรับรู้ออกมา ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด เป็นขั้นที่นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน และสร้างความคิดใหม่
ขั้นทบทวน เป็นขั้นที่ผู้เรียนทบทวน ความรู้ ความเข้าใจที่เปลี่ยนไป ขั้นนำความคิดไปใช้ เป็นขั้น
ที่นักเรียนใช้ความคิดหรือความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ พบว่า กิจกรรม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิดมีความเหมาะสมมาก ( X= 4.31, S.D. = 0.47) และมีประสิทธิภาพ 79.33/79.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ท้องฟ้าน่ารู้ มีความเหมาะสมระดับมาก
( X = 4.33, S.D. = 0.47)
3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิดสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับแผนผังความคิด อยู่ในระดับมาก
( X = 2.54, S.D. = 0.14)