ชื่อเรื่อง : ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E)
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นพื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวสลี ตันติลาสน์
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ แบบทดทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ค่า t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต
ที่ระดับ .05 3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ตามรูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) อยู่ในระดับมากที่สุด