การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ 3) ศึกษาพัฒนาการทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทผสมผสานวิธี ผลการวิจัยได้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้
1. รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ หลักการ กระบวนการ เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ และการวัดประเมินผล เรียกว่า SAEROH Model มีการดำเนินการ 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้น (S : Stimulate) ขั้นที่ 2 อธิบาย
(A : Annotate) ขั้นที่ 3 ตรวจสอบ (E : Examine) ขั้นที่ 4 ทบทวน (R : Review) ขั้นที่ 5 ปฏิบัติ
(O : Operate) และขั้นที่ 6 ครอบคลุมความรู้ (H : Hold Knowledge) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.64/88.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านจะมาแกะ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์พัฒนาขึ้นระหว่างการจัด
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ
4. ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SAEROH Model เพื่อพัฒนาทักษะ
การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจะมาแกะ อยู่ในระดับมากที่สุด