ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ
ศาสตร์พระราชา
โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ การประเมินโครงการ/การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ
ศาสตร์พระราชา
ผู้วิจัย นายมงคล สิงห์แก้ว
ปีที่ดำเนินการ 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชาโรงเรียน กุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการ 6) เพื่อประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ที่สามารถตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการรวมทั้งสิ้น จำนวน 459 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 คน ผู้แทนครู จำนวน 1 คน ผู้แทนองค์กรชุมชน จำนวน 1 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1 คน ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา จำนวน 1 คน ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้แทน องค์กรศาสนาอื่นในเขตพื้นที่ จำนวน 1 รูป และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 1 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 7 คน 3) ครูโรงเรียน กุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายบริหาร 4 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน และผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 13 คน 4) นักเรียนโรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2561 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane (1973: 125) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยการสุ่มแบบชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการจับสลาก นักเรียนแกนนำฐานกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุดจิกวิทยา
อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2561 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ตัวแทนห้องละ 1 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2561 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane (1973: 125) ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 213 คน
และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยการสุ่มแบบ ชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการจับสลาก วิธีที่ใช้ในการประเมินโครงการ ผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้จากวิธีการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIE Model และตามแนวทางการประเมินของ มาเรียม นิลพันธุ์ (2553: 31-32) ดังนี้ 1) การประเมิน ด้านบริบท (C : Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (I : Input Evaluation) 3) การประเมินด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation) 4) ด้านผลผลิต (P : Product Evaluation) 5) การประเมินด้านผลกระทบ (I : Impact Evaluation) 6) การประเมินด้านประสิทธิผล (E:Effectiveness Evaluation) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ ความคิดเห็นแบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยสอบถาม สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มเกี่ยวกับโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ผู้ประเมินโครงการดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามใช้การแจกแจงความถี่ และการคำนวณค่าร้อยละ 2) วิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นจากแบบสอบถามด้วยค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการคำนวณไปเทียบกับเกณฑ์ในการประเมินที่ได้กำหนดไว้ โดยกำหนดเกณฑ์การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (บุญชม ศรีสะอาด, 2535: 100) 3) วิเคราะห์ข้อคำถามปลายเปิด (Open-end Questions) ที่ได้จากการสัมภาษณ์ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มนำมาจัดหมวดหมู่ และลำดับคำตอบเพื่อนำไปวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในลักษณะพรรณนาความ
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการเมินโครงการโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ในภาพรวมคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x ̅= 4.23, S.D. = 0.62) ซึ่งนักเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅= 4.35, S.D. = 0.86) รองลงมา ได้แก่ ครู (x ̅= 4.28, S.D. = 0.50) และค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.21, S.D. = 0.63) และผู้ปกครองนักเรียน (x ̅= 4.21, S.D. = 0.96)
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้านบริบท คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x ̅= 4.36, S.D. = 0.50) ซึ่งนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅= 4.40, S.D. = 0.62) รองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.39, S.D. = 0.49) ครู (x ̅= 4.38, S.D. = 0.48) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครองนักเรียน (x ̅= 4.16, S.D. = 0.86)
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้านปัจจัยนำเข้า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x ̅= 4.15,
S.D. = 0.38) ซึ่งครู มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅= 4.19, S.D. = 0.34) และรองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.12, S.D. = 0.38)
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้านกระบวนการ คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x ̅= 4.13,S.D. = 0.61) ซึ่งนักเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅= 4.22, S.D. = 1.10) รองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.15, S.D. = 0.67) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือครู (x ̅= 4.12,S.D. = 0.46)
5. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้านผลผลิต คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสม มาก (x ̅= 4.33, S.D. = 0.80) ซึ่งนักเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅= 4.43, S.D. = 0.85) รองลงมาได้แก่ ครู (x ̅= 4.38, S.D. = 0.66) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.29, S.D. = 0.75) ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผู้ปกครองนักเรียน (x ̅= 4.20, S.D. = 1.07)
6. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้านผลกระทบ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x ̅= 4.16, S.D. = 0.96) ซึ่งผู้ปกครองนักเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅= 4.28, S.D. = 0.96) และรองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.14,
S.D. = 0.56)
7. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดจิกวิทยา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ด้านประสิทธิผล คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (x ̅= 4.25, S.D. = 0.76) ซึ่งครูมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅= 4.31, S.D. = 0.57) และรองลงมา คือ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅= 4.19, S.D. = 0.95)