ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง โปรแกรมนำเสนอข้อมูล
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยเทคนิค STAD
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางบุษบา แก้วตา
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง โปรแกรมนำเสนอข้อมูล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง โปรแกรมนำเสนอข้อมูล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง โปรแกรมนำเสนอข้อมูล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง โปรแกรมนำเสนอข้อมูล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.74/84.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง โปรแกรมนำเสนอข้อมูล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง โปรแกรมนำเสนอข้อมูล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด