ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทย
สร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model
ผู้วิจัย นางศิริรัตน์ สุวรรณระ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model โดย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model 2.2) ศึกษาพัฒนาการทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model 2.3) ศึกษาพัฒนาการทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model 2.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียนจากห้องเรียนทั้งหมด 5 ห้องเรียน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียนจากห้องเรียนทั้งหมด 5 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Modelประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้
มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน (S : Start) ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ใหม่ (I : Invent) ขั้นที่ 3 ขั้นการนำเสนอบทเรียน (R : Represent) ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ (I : interchange) ขั้นที่ 5 ฝึกทักษะและนำความรู้ไปใช้ (R : Rehearse) ขั้นที่ 6 สรุปความรู้ (A : Abstract) ขั้นที่ 7 ประเมินความรู้ (T : Test) และมีประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมเท่ากับ 87.25/88.16 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model พบว่า
2.1 หลังการเรียนการเรียนสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Modelโดยภาพรวมพบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.2 ทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model ในช่วงระหว่างเรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น
2.3 ทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model ในช่วงระหว่างเรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น
2.4 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.61, S.D. = 0.59)
3. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SIRIRAT Model พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนสูงขึ้น ทักษะการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ระบำนโมศรีธรรมมาและทักษะการนำความรู้ไปใช้เพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างเรียน นอกจากนี้ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด