ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอน
สตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความ
ใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย จุฑารัตน์ ประพฤติตรง
ปีที่ทำวิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลอง One-Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 5 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.53 0.60 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.35 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 3) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าความเชื่อมั่น (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.89 4) แบบวัดความใฝ่รู้ จำนวน 3 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ .74 , .73 และ .90 5) และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นมาตราประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ชนิด Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ การศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ยังไม่สามารถฝึกฝนให้นักเรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนไม่สามารถการพิจารณาไตร่ตรองข้อมูลหลักฐานต่างๆ ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลจนนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่และอธิบายความรู้ใหม่ได้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การโต้แย้งทางความคิดบนพื้นฐานของหลักการ และเหตุผลยังมีน้อย นักเรียนขาดความใฝ่รู้ ไม่ค่อยสนใจติดตามสถานการณ์ ข่าวสารบ้านเมือง และข่าวสารรอบโลก ครูมุ่งสอนแต่เนื้อหาวิชาเป็นหลัก ใช้เทคนิคการสอนที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด การค้นคว้าหาความรู้ การแก้ปัญหา ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกิดความน่าเบื่อหน่าย ส่งผลให้ผู้เรียนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้
2) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า ไออีอาร์อีเอส (IERES Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความคิด (inspiring) ขั้นสืบสอบรอบตัว (Exploring) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflective thinking) ขั้นตกผลึกความคิด (Enlightening) ขั้นประเมินตนเอง(Self-Evaluating) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.38/83.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปรากฏผลดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยของรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 คะแนนเฉลี่ยด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 คะแนนเฉลี่ยด้านความใฝ่รู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรักติวิสต์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด