ชื่อเรื่อง การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริม กระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางอัญรินทร์ คุ่มเคี่ยม
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตลอดจนศึกษาประสิทธิภาพของเว็บแอพพลิเคชั่นตามเกณฑ์ 80/80 และ เพื่อศึกษาการสร้างความรู้และกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บแอพพลิเคชั่นฯ รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ คือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง (Experimental Research) แบบ (Pre-Experimental Design) โดยใช้รูปแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11 จำนวน 39 คนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบ แบบประเมินเว็บแอพพลิเคชั่น แบบวัดทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสำรวจความพึงพอใจ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ เว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) สถานการณ์ปัญหาน่ารู้ 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) ฐานความช่วยเหลือ 4) ศูนย์ร่วมมือกันเรียนรู้ 5) ห้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 6. ศูนย์ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา และจากการประเมินพบว่าทุกองค์ประกอบช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
2. ประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า เว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ 82.33/82.56 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด (80/80)
3. ผลการสร้างความรู้ของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีการสร้างความรู้เมื่อผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา หรือที่เรียกว่า การเสียสมดุลทางปัญญาและผู้เรียนจะพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้าสู่สภาวะสมดุล ในสองวิธีการคือ การดูดซึม และการปรับเปลี่ยน และนอกจากนี้ผู้เรียนได้สร้างความรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน รวมทั้งครูผู้สอน
4. กระบวนการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์โปรโตคอลจากผลการสัมภาษณ์ พบว่า การแก้ปัญหาของผู้เรียน เป็น 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ผู้เรียนระบุช่องว่างของปัญหา ขั้นที่ 2 การระบุและอธิบายปัญหาที่แท้จริงว่าคืออะไร และเกิดจากอะไร ขั้นที่ 3 การสร้างแนวทางที่เป็นไปได้ ขั้นที่ 4 การประเมินความเป็นได้ของการนำทางเลือกไปปฏิบัติ ขั้นที่ 5 นำแนวทางการแก้ปัญหาไปใช้ และ ขั้นที่ 6 ปรับแนวทางการแก้ปัญหา
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ค่าเฉลี่ยขอค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89