การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เป็นการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model แบบประเมินรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model
ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) พบว่า ครูยังคงเน้นการบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก ไม่มีรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ กิจกรรมไม่น่าสนใจ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้มีการนำมาใช้น้อย สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ เก่าและขาดคุณภาพ ครูขาดการบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน และครูภูมิปัญญา นักเรียนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนไม่เพียงพอ นักเรียนไม่ตั้งใจเรียนขาดเรียนบ่อย ขาดความสามารถด้านกระบวนการคิด ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจใฝ่รู้
2. ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) พบว่า ในการสอนในศตวรรษที่ 21 นั้น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นเครื่องมือที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิดและการจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ร่วมกับ วิธีการสอนแบบทีม ต่างก็เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ยึดปรัชญาการสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านวิธีการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) โดยประเมินการใช้ข้อมูลร่วมกันการค้นหา และนิยามปัญหา การได้มาซึ่งความรู้ และการแก้ปัญหาโดยใช้การประเมินตามสภาพจริง สร้างเกณฑ์การประเมินเพื่อประเมิน การอภิปรายเชื่อมโยงแนวคิดของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนผ่านการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปของบทเรียน เพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ครูผู้สอนสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้ในที่สุด
3. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model
3.1 ผลการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นถึงความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ให้มากที่สุด เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองจากการลงมือปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง สืบค้นหาความรู้ได้ตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตนได้
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) และวิธีการสอนแบบทีมเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีความคล้ายคลึงกัน สามารถตอบสนองต่อบริบทของสภาพและปัญหาการจัด การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) และสามารถสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นตอนที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และตัดสินใจร่วมกัน ขั้นตอนที่ 3 การประยุกต์ใช้ความรู้ โดยนำความรู้ที่ได้ไปจัดทำชิ้นงาน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลงานร่วมกัน โดยการจัดปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนให้มีความพร้อม และพอเพียงในการจัด การเรียนรู้ จัดหาสื่อ และเทคโนโลยีสนับสนุนการจัด การเรียนการสอนให้เพียงพอ จัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน พัฒนาความพร้อมของครูในการจัด การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model รวมถึงสร้างเจตคติของครูที่มีต่อผู้เรียนว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
3.2 ผลการตรวจสอบรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 และ 4.64 ตามลำดับ และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.57/84.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
4. ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model
ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้เป็นทีมแบบPHET Model ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.618