ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความคิด
สร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางกาญจนา เชิดเมืองปัก
โรงเรียน เทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอน และศึกษาผลการใช้รูปแบบ
การสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) เครื่องมือที่ใช้ คือ คู่มือการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกและการถอดเทปจากการสนทนา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มี 2 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบทดสอบวัดความรู้ จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 2 แบบวัดภาคปฏิบัติ จำนวน 4 ชุด
3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 3 ตอน ตอนละ 3 กิจกรรม และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล
คือ เอกสาร ผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 รูปแบบการสอนที่ได้เรียกว่า CAICPIC Model มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ
2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน มี 7 ขั้น คือ (1) การสร้างประสบการณ์ (Creating experience : C) (2) วิเคราะห์ประสบการณ์ (Analyzing experience : A)
(3) บูรณาการเป็นความคิดรวบยอด (Integrating into concepts : I) (4) การปฏิบัติตามแนวคิด (Compliance with the concept : C) (5) การแสดงผลงาน (Performance : P) (6) ปรับปรุงและประยุกต์ใช้ (Improvement and application : I) และ (7) การสร้างสรรค์ (Creative : C) และ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการสอน
2. ผลการใช้รูปแบบการสอน
2.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (CAICPIC Model) มีค่าเท่ากับ 83.16/84.19
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (CAICPIC Model) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (CAICPIC Model) มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (CAICPIC Model) โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด