ชื่อเรื่อง ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัด
การแสดงนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางกาญจนา เชิดเมืองปัก
โรงเรียน เทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัด
การแสดงนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบทดสอบวัดความรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 2 แบบวัดภาคปฏิบัติ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ (Rating Scales) จำนวน 4 ชุด และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. การหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ทักษะพื้นฐานและ
การฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 83.62/83.45 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด