ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน
(Brain based Learning: BBL)ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะ
การเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายสุรชัย บุญยงค์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนา และศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับ แบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อวัดทักษะการเป่าเมโลเดียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ
การเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากห้องเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะ
การเป่าเมโลเดียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวน การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PLLTE Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม (Preparation:P) ขั้นที่ 2 การฟังและชมการสาธิต (Listen and Demonstate:L) ขั้นที่ 3 การฝึกทักษะย่อย (Learn Practice sub skills:L) ขั้นที่ 4 การฝึกเป็นกลุ่มฝึกซ้อมอย่างชำนาญ (Team Skills Fully:T) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและบรรเลงอย่างเป็นธรรมชาติ (Evaluate and Apply Expertly:E) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.19/82.95 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่า เมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะการเป่าเมโลเดียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดี
4. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) ร่วมกับแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะการเป่าเมโลเดียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเป่าเมโลเดียน สามารถเป่าได้อย่างไพเราะ ถูกต้องตามจังหวะ มีทักษะในการฟัง มีพื้นฐานทางดนตรี นักเรียนภูมิใจที่ได้ร่วม วงเมโลเดียนในการบรรเลงร่วมกิจกรรมของโรงเรียน