ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนา
ทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบชุดเที่ยวท่อง
เมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นางศรัญญา สืบวงศ์พฤกษ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบชุดเที่ยวท่อง เมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานใน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบชุด เที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบ ชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ หนังสืออ่านประกอบชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา จำนวน 10 ชุด แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือ อ่านประกอบชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า เด็กสมัยนี้ไม่ชอบอ่านหนังสือ ซึ่งสาเหตุให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสืออาจเป็นเพราะสื่อมวลชนด้านต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ วีดีทัศน์คอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา เหล่านี้ล้วนแต่อำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้เรียนรู้และทราบข่าวสารได้รวดเร็ว จึงทำให้เด็ก ๆ สูญเสียเวลาที่ควรจะอ่านหนังสือบ้าง เด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือก็จะทำให้มีผลต่อสติปัญญาที่ไม่มีการพัฒนาไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ที่เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ เด็กไม่รักการอ่าน การรัก การอ่านเป็นค่านิยมในการสร้างนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนที่เด็ก ๆ ควรได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากผู้ปกครองหรือครูที่ละเลยมาตั้งแต่ต้นก็ได้ จึงทำให้เด็กไม่รักการอ่าน และที่สำคัญนักเรียนใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ ไม่สนใจในการอ่านภาษาไทยทำให้ การเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับสูงต่อไปและการใช้ภาษาไทย ในชีวิตประจำวันอีกด้วย
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า ROAPA Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เงื่อนไขในการใช้รูปแบบการเรียนรู้ สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งมีกระบวนการจัด การเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ 1) R : Relaxed Alertness ขั้นเตรียมผ่อนคลาย 2) O : Orchestrated Immersion-ขั้นการให้ประสบการณ์ผ่านการสัมผัส 3) A :Active Processing of Experience ขั้น จัดประสบการณ์ 4) P : Practice Skills ขั้นฝึกทักษะ และ 5) A : Assessment -ขั้นประเมินความรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.75/83.88 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิด การใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือ อ่านประกอบชุดเที่ยวท่องเมืองสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด