บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ประเมินด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 61 คนประกอบด้วย ครู จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 23 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 23 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี สำหรับนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
สรุปผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการจำนวน 8 คน ใน สรุปผล ได้ดังนี้
1.1 ด้านสภาพบริบท (Context )
มีผลการประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.50, S.D. = 0.49) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และ ฉบับที่ 3 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.46) รองลงมา มีความเหมาะสมในระดับมากทุกรายการ ตามลำดับ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
มีผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย = 4.88, S.D. = 0.35) รองลงมา คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/คอมพิวเตอร์ (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.46) มีการเป็นผู้นำในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและมีความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.63, S.D. = 0.52) รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมากทุกรายการตามลำดับ
1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
1) ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.39, S.D. = 0.62) คือ ขั้นการดำเนินงานโครงการ (ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D. = 0.53) รองลงมา คือ ขั้นการประเมินผล สรุปผล และรายงาน(ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D. = 0.62) และขั้นเตรียมการโครงการ(ค่าเฉลี่ย = 4.38, S.D. = 0.57) ตามลำดับ
2) ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ของการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.55, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับมากที่สุด คือ การคัดกรองนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.41) และการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล จากการเยี่ยมบ้านของนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.44) รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ การส่งต่อนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.69, S.D. = 0.47) การศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล (ค่าเฉลี่ย = 4.66, S.D. = 0.49) กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.59, S.D. = 0.45) กิจกรรมป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด (ค่าเฉลี่ย = 4.56, S.D. = 0.56) การประชุมผู้ปกครองนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.55) กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.57) กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.58) และกิจกรรมอบรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.60) ตามลำดับ
1.4 ด้านผลผลิต (Product )
1) ผลการประเมิน ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.37) รองลงมาคือ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 4.63, S.D. = 0.56) และนักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถหลีกเลี่ยง ป้องกันภัยอันตรายและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.58, S.D. = 0.58) ตามลำดับ
2) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวม พบว่า ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การคัดกรองนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.91, S.D. = 0.13) รองลงมา คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (ค่าเฉลี่ย = 4.90, S.D. = 0.23) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.63, S.D. = 0.53) ตามลำดับ
3) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับบุคลากร โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.60, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ผู้บริหารเป็นผู้นำ บริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างเป็นระบบคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือมีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานต่อการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือเพิ่มขึ้น (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.46) รองลงมา คือ บุคลากรได้รับการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและมีขวัญกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.50, S.D. = 0.53) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี
2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียนและการมีส่วนร่วม ในภาพรวมมีความพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.45, S.D. = 0.71) เมื่อได้พิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ข้อรายการที่มีระดับความพึงพอใจสูงสุดอยู่ใสระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = 0.64) รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน จากการที่นักเรียนมีทักษะชีวิต สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันภัยอันตราย และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = 0.66) นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม (ค่าเฉลี่ย = 4.55, S.D. = 0.58) นอกจากนั้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน โดยนักเรียนมีความร่าเริง แจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ และปรับตัว (ค่าเฉลี่ย=4.40, S.D.=0.72) นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 4.31, S.D. = 0.79) และนักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเอง (ค่าเฉลี่ย = 4.29, S.D. = 0.84) ตามลำดับ
2.2 สรุปผลของการสอบถามความคิดเห็นด้านการเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านกาดถี จากการตอบแบบสอบถามปลายเปิด มีดังนี้
1) ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน
(1) ครูมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบหลายด้านในโรงเรียน และต้องมารับผิดชอบในการกรอกเอกสารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพิ่มภาระงานอีก
(2) การนิเทศติดตามงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้บังคับบัญชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการปฏิบัติให้อยู่ในระดับที่มากที่สุด
(3) การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงให้มากที่สุด
(4) การรายงานข้อมูลของนักเรียน ผู้ปกครองและครูบางครั้งข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง
2) แนวทางในการแก้ไขปัญหาตามข้อ 1 ควรจะแก้ไขด้วยวิธีการใด
(1) จัดระบบเอกสารในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน ให้ลดการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและมอบหมายงานในหน้าที่ให้เหมาะสม
(2) จัดทำแผนการนิเทศ ปฏิทินการนิเทศ มีการนิเทศอย่างต่อเนื่องและให้ขวัญและกำลังใจแก้ผู้ที่ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
(3) ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกัน
(4) ควรจัดค่ายอบรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนบ่อยๆ
3) ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
(1) การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
(2) ควรมีการประชุมชี้แจงและสร้างตระหนักให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้รับทราบข้อมูลและแนวทาง การดำเนินงาน
(3) ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามระบบอย่างเหมาะสม ทั้งในส่วนของการจัดทำเอกสารต่างๆ รวมทั้งการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างสม่ำเสมอและเป็นกิจกรรมต่อเนื่องในปีต่อไป ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เพียงพอ
(4) ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ตามระบบอย่างต่อเนื่อง