บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายธีระศักดิ์ แสงศรีจันทร์
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model ในด้านต่อไปนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model 2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model 2.3) ศึกษาทักษะทางสังคมของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ TRASAK Model และ 2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (สังขวิทย์) ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มด้วยการจับสลาก จำนวน 1 ห้องเรียนจากห้องเรียนทั้งหมด 2 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดตันตยาภิรม) ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การทดลอง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินทักษะทางสังคม และสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (T = Take off) ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ (Require = R) ขั้นที่ 3 เรียนรู้ (Ability = A) ขั้นที่ 4 ฝึกทักษะ (Spend = S) ขั้นที่ 5 สรุป (Abstract = A) ขั้นที่ 6 นำความรู้ไปใช้ (Knowledge = K) ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.07/81.17 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.2 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.3 ทักษะทางสังคมของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนอยู่ในระดับมาก
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.67/S.D. = 0.47)
3. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TRASAK Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการจัด การเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และหลังเรียนมีทักษะทางสังคมอยู่ในระดับมาก อีกทั้ง ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด