บทคัดย่อ
การวิจัย : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและ
โรคไม่ติดต่อ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย : นางสาวเจษฎาภรณ์ ธิวัง
ปีการศึกษา : 2561
การดำเนินการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 เล่ม รวม 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการคำนวณ หาค่า E1/ E2 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละค่าคะแนนความก้าวหน้าการทดสอบค่าที (t- test) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.22/85.89 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.58 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 36.45 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 34.35 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.89 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยค่าคะแนนความก้าวหน้าพบว่า มีค่าคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 19.58 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 48.95 สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เมื่อทดสอบค่าที (t- test) เท่ากับ 28.23 สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ระดับความพึงพอใจของนักเรียนเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา สุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสาระการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านบทบาทการสอนของครู มีค่าความพึงพอใจเฉลี่ย เท่ากับ 4.99 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด