การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ บ้านทรายทอง สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
(3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4.1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน (4.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Design and Develop : D1 , D2) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Implement : l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัด ประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Evaluation : E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ttest (Independent Sample t test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ บ้านทรายทอง สำนักการศึกษา เทศบาลเมือง สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทาง พหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ผู้วิจัยได้นำมาสังเคราะห์ได้รูปแบบประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
1 ขั้นกระตุ้นเร้า (Stimulus : S) เป็นขั้นที่เด็กได้รับการกระตุ้นเร้าให้เกิดความ
สนใจในการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการนำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษาของครู อันได้แก่ คำคล้องจอง เพลง และปริศนาคำทายที่มีความสอดคล้องกับประสบการณ์สำคัญและสาระการเรียนรู้
2 ขั้นวางแผน (Plan : P) เป็นขั้นที่เด็กวางแผนการเรียนรู้จากการตัดสินใจจัด
กระทำต่อสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ อันได้แก่ ของจริง ของจำลอง เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ที่ครูนำเสนอด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การปรึกษา การอภิปราย และการแสดงความคิดเห็นเพื่อสื่อสารถึงความรู้ ความคิด ความรู้สึกและความต้องการในการเรียนรู้ของตน
3 ขั้นเรียนรู้ (Active Learning : A) เป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมอง การฟัง การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัส ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การฟังนิทาน การประกอบอาหาร การทดลอง และการศึกษานอกห้องเรียน
4 ขั้นซ้ำย้ำทวน (Repeat : R) เป็นขั้นที่เด็กฝึกปฏิบัติซ้ำย้ำทวนประสบการณ์
เรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมศิลปะดังเช่นการวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การตัด ฉีก ปะ และการประดิษฐ์เศษวัสดุ รวมทั้งการบรรยายผลงานศิลปะของตนโดยมีครูช่วยจดบันทึก เพื่อให้เกิดความแม่นยำในประสบการณ์เรียนรู้และมีความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาสื่อสาร
5 ขั้นสรุปและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism : C) เป็นขั้น
ที่เด็กสามารถสรุปสิ่งที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่าผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมาย นำเสนอผลงานการเรียนรู้ด้วยการเล่าเรื่องราวจากผลงานศิลปะของตนให้เพื่อนและครูฟัง เด็กจะได้รับประสบการณ์ในการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่งหมายความว่าเด็กจะได้เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร
6 ขั้นประยุกต์ใช้ (Application : A) เป็นขั้นที่เด็กสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้นั้นไป
ประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาหรือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางพหุปัญญาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางพหุปัญญาเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถทางพหุปัญญาหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
4.2 เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ ความสามารถทางพหุปัญญา การจัดประสบการณ์ปัญหาเป็นฐาน