ชื่อผลงาน การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นายมงคล ธรรมรักขิต
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล)
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีขั้นตอนในการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิจัย (Research) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (Development) การพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 วิจัย (Research) การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (Development) ประเมินผลหลักสูตร ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยมีความเห็นร่วมกันว่า เป็นการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียน สิ่งสำคัญยังเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยให้คงอยู่คู่สังคมและชาติไทย
2. ผลการหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลักสูตรหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ความสำคัญ จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหาของหลักสูตร เวลาเรียน แหล่งเรียนรู้/สื่อ กระบวนการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างหลักสูตร การกำหนดหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 แผน ผลการประเมินหลักสูตรพบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันเป็นอย่างดี
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า เมื่อนำหลักสูตร ไปใช้ทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) จำนวน 28 คน โดยผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้การระดมความคิด การบรรยาย การสาธิต และการปฏิบัติจริง พบว่า นักเรียนให้ความสนใจและความร่วมมือในการทำกิจกรรม สามารถสรุปสาระจากการเรียนรู้และการแสดงกลองยาว และประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของตนเองร่วมกับผู้วิจัย ปราชญ์ชาวบ้าน แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาผลในครั้งต่อไป
4. ประเมินผลหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลการเรียนรู้ เรื่องการเล่นกลองยาว ของนักเรียนก่อนและหลักการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่น ชุมนุมกลองยาว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก