บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการ
พูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางญาสุมินทร์ สิริทัตนนท์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย 2561
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.) ศึกษาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 2.1) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2.2) เปรียบเทียบความรู้และทักษะในการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการสอน 2.3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัด มเหยงคณ์ สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ15101 2.) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3.) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน PCPEA Model 4.) แบบทดสอบวัดความรู้และทักษะในการพูดสื่อสาร 5.) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยซึ่งเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ รายวิชา อ15101 ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ประยุกต์ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาตามรูปแบบของมาเรียม นิลพันธุ์ (2554: 31) และ ADDIE Model ของ Kruse (2008: 1) มี 4 ขั้นตอน คือ 1.) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (Research-R1: Analysis) 2.) การสร้างและพัฒนารูปแบบการสอน (Development-D1: Design and Development) 3.) การทดลองใช้รูปแบบการสอน (Research-R2: Implementation) และ 4.) การประเมินผล/ปรับปรุงรูปแบบการสอน (Development-D2: Evaluation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า PCPEA Model โดยรูปแบบการสอนมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาและทักษะ กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมของรูปแบบการสอน PCPEA Model มี 5 ขั้นตอนดังนี้ 1.) ขั้นเตรียมความพร้อมและกำหนดสถานการณ์ (P: Preparing and Setting Situation) 2.) ขั้นร่วมมือกันเรียนรู้ (P: Collaborative Learning) 3.) ขั้นฝึกในสถานการณ์สมมติ (P: Practicing and Role Playing) 4.) ขั้นเผชิญสถานการณ์ (E: Experiential Learning) และ 5.) ขั้นประเมินผลตามสภาพจริง (A: Authentic Assessment) ผลการประเมินตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( =4.66, S.D.=0.51) และผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านมีความคิดเห็นต่อแผนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( =4.66, S.D.=0.51) เช่นกัน
2. การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนจากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับกลุ่มตัวอย่าง เมื่อนำผลการทดลองมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ได้ผลการประเมินด้านกระบวนการ (E1) เท่ากับ 82.13 และผลการประเมินผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.60 สรุปค่า E1/E2 = 82.13/81.60
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนนี้มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี นักเรียนมีการช่วยเหลือกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน นำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นที่น่าพอใจ ผลการเปรียบเทียบความรู้และทักษะในการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลการเรียนรู้และทักษะในการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติในบริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D.= 0.73) และผู้วิจัยมีการปรับปรุงรูปแบบการสอนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับการนำไปใช้และเผยแพร่ต่อไป
TITLE: THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL ON ROLE PLAYING IN THE LOCAL
CONTEXT TO ENHANCE SPEAKING SKILL FOR PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS
AUTHOR: YASUMIN SIRITHATTANON
PUBLISHED YEAR: 2018
ABSTRACT
The purposes of this research were 1.) to develop the instructional model on role playing in the local context to enhance speaking skill for Prathomsuksa 5 students 2.) to study the empirical effectiveness of the instructional model by 2.1) assessing the instructional model to meet the effective criteria of 80/80 2.2) comparing the students knowledge and speaking skill before and after studying from the instructional model and 2.3) evaluating the students satisfaction towards the instructional model. The sample selected by cluster random sampling was 50 students from Prathomsuksa 5/1 of Watmaheyong Municipality School under the City Municipality of Nakhonsithammarat in the second semester of academic year 2018. The instruments employed for the data collection consisted of 1.) the questionnaire to collect the fundamental data, 2.) the interview form for the experts, 3.) the lesson plans for PCPEA model, 4.) achievement test in the local context and the assessment on speaking skill and 5.) the satisfactory questionnaire toward the instructional model. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, content analysis, and t-test dependent. There were 4 steps in the development process: 1.) survey the fundamental data involved 2.) design and develop the instructional model 3.) implement the instructional model and 4.) evaluate and improve the instructional model.
The results were as follows:
1. The instructional model on role playing in the local context to enhance speaking skill for Prathomsuksa 5 students which was developed is called PCPEA Model consisted of principles, objectives, syntax, instruction, social system, principals of reaction and support system. There are 5 stages of instructional PCPEA Model as follows: P: Preparing and setting situation, C: Collaborative Learning, P: Practicing and role playing E: Experiential learning and A: Authentic Assessment. The experts considered the model the most practical and the lesson plans were determined the highest suitable.
2. The implementation of the instructional model on role playing with the local context to enhance speaking skill for Prathomsuksa 5 students was found to meet the effective criteria at 82.13/81.60.
3. The students knowledge and speaking competency after studying by the instructional PCPEA model were significantly higher than before using the PCPEA Model at the .05 level. During the implementation students by individual or group also well participated in the speaking activities and presented a lot of good presentations. The outside school experiences gave them benefit of real life learning and improved them both in communicative and social skills which would help them be successful in future career and live a happy life.
4. The students satisfaction towards the studying by the instructional model on role playing with the local context to enhance speaking skill for Prathomsuksa 5 as a whole was at the highest level ( = 4.68, S.D. 0.73).