บทคัดย่อ
การนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้นิเทศและครูที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครู 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครู 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครู กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้นิเทศ จำนวน 8 คน กลุ่มที่ 2 ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 19 คน กลุ่มที่ 3 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน รวม 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา แบบประเมินความสามารถในการออกแบบและวางแผนการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา แบบประเมินความสามารถในการดำเนินการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา แบบประเมินความพึงพอใจของผู้นิเทศ และครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครู แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนแบบประเมินทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ (%)ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. สมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครูโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) หลังการนิเทศ โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 83.36) และเมื่อพิจารณาสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา เป็นรายด้าน พบว่าหลังการนิเทศครูโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับสูง (ร้อยละเฉลี่ย 82.11 ) และด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับสูง (ร้อยละเฉลี่ย 83.48) และพบว่าหลังการนิเทศครูมีสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนการนิเทศทั้งในภาพรวมและรายด้าน
2. ผู้นิเทศและครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการนิเทศ
เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.79, S.D. = .40) โดยมีความพึงพอใจมากเป็นลำดับที่ 1 คือ การมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ ( = 4.86, S.D. =.19) รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ( = 4.81, S.D. = .23) และมีความพึงพอใจต่ำสุดในด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( = 4.73, S.D. =.43)
3.ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครูผู้รับการนิเทศหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนและมีความก้าวหน้าโดยรวมร้อยละ 34.82 เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความก้าวหน้าร้อยละ 38.80 ส่วนด้านทักษะการเรียนรู้มีความก้าวหน้าร้อยละ 30.84
4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.95, S.D. = .04) โดยมีความพึงพอใจมากเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ( = 4.97, S.D. = .13) รองลงมา คือ ด้านการฝึกทักษะและด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ ( = 4.95, S.D. = .04) ส่วนด้านปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ( = 4.84, S.D. = .18) มีความพึงพอใจต่ำสุด