บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และ
ทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model)
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางเบญจวรรณ ยิ้มเย็น
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.2) เปรียบเทียบทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.3) ศึกษาพัฒนาการของทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดชนาธิปเฉลิม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสตูล กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทผสมผสานวิธี ผลการวิจัยได้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้
1. รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ หลักการ กระบวนการ เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ และการวัดประเมินผล เรียกว่า BENJAWAN Model มีการดำเนินการ 8 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เริ่มต้น (B: Begin) ขั้นที่ 2 กระตุ้น (E: Energize) ขั้นที่ 3 ความรู้ใหม่ (N: New knowledge) ขั้นที่ 4 ร่วมกัน (J: Join) ขั้นที่ 5 ปฏิบัติ
(A: Act) ขั้นที่ 6 เชื่อมความรู้ (W: Weld knowledge) ขั้นที่ 7 สรุป (A: Abstract) ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยน (N: Negotiate) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.17/84.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างเรียนมีการพัฒนาขึ้น
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์และทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (BENJAWAN Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.68, S.D. = 0.26)