บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาดัชนีประสิทธิผล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5 ขั้น เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนดงมูลวิทยาคม อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5 ขั้น 10 แผน เวลาเรียน 20 ชั่วโมง แบบฝึกทักษะ จำนวน
10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนย่อย จำนวน 10 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ แบบทดสอบประจำหน่วย จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติสำหรับ
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบค่า t (Dependent samples) ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5 ขั้น เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 85.49/84.34 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5 ขั้น เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.7434 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 74.34 สูงกว่าเกณฑ์ 70 หรืออยู่ในระดับดี
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5 ขั้น เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่
ของพืช โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5 ขั้น เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก