การศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสาร ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การ สร้างงานเอกสาร 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสาร 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้จากเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านสาหร่าย อำเภอสุวรรณภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด เอกสารประกอบการเรียน จำนวน 2 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก 0.21 ถึง 0.59 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จํานวน 10 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนก ตั้งแต่ 0.39 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และ t test (Dependent Sampling)
ผลของการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสาร มีประสิทธิภาพ 83.16/81.05
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผล ของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสาร มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.6190 ซึ่งแสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุดนี้แล้ว นักเรียน มีความก้าวหน้า ในการเรียน มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6190 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ที่ 0.50 หรือร้อยละ 50
3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
กับหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสารคะแนนเฉลี่ย หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสาร มีค่าเฉลี่ย 4.63 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจสอดคล้องกันค่อนข้างสูง
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างงานเอกสาร ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีพัฒนาการทางการเรียนเพิ่มขึ้น ควรสนับสนุนให้มีการนําไปใช้ ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน จะทําให้นักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น