การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความต้องการด้าน การจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งทักษะเสริมการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้
ในชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลอง
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ ในชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนหนองงูเหลือม ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน มีเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.62) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ มีเหมาะสมมากที่สุด ( =4.54) 3) แบบทดสอบ
วัดทักษะการคิดขั้นสูง มีค่าความยากตั้งแต่ .43 ถึง .73 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .43 ถึง .76 และ
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 4) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy ) ตั้งแต่
.45 ถึง .68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .89 6) แบบวัดความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy ) ตั้งแต่ .45 ถึง .68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาชีววิทยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.60) และ ความต้องการของนักเรียนให้มีการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง โดยรวมอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยมาก ( = 4.37)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐานที่มีชื่อเรียกว่า IBMRE Model ซึ่ง มี 4 องค์ประกอบดังนี้ ดังนี้ 1) แนวคิดทฤษฎี
และหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นเตรียม
ความพร้อม (Introduction) (2) ขั้นระดมสมอง ( Brain Stroming) (3) ขั้นปัญญาความคิด (Mentality Intelligence: M) (4) ขั้นการสะท้อนความรู้ ( Reflect knowledge : R) 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนตามรูปแบบ และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน มีคุณภาพความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด ( =4.62)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดขั้นสูง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อจัดการเรียน รู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.58)