การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง มีขั้นตอนดำเนินการการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทาง ในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
1.1 สภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ทุกด้านโดยรวม พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติการ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการตัดสินใจ และด้านการประเมินผล ด้านการปรับปรุงแก้ไข โดยด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
1.2 สรุปสภาพและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ได้หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 9 หลักการ ประกอบด้วย หลักการมองโดยองค์รวม หลักการกระจายอำนาจ หลักการพึ่งตนเอง หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า และกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการตัดสินใจ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติการ ด้านการประเมินผล และด้านการปรับปรุงแก้ไข
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
2.1 ร่างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งประกอบด้วย 4 ภารกิจหลัก คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป องค์ประกอบด้านหลักการบริหาร ประกอบด้วย หลักธรรมาภิบาล และหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ได้แก่ หลักคุณธรรม (Ethics) หลักนิติธรรม (Rules of Law) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) และหลักความคุ้มค่า (Value of Money) หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ประกอบด้วย หลักการมอง โดยองค์รวม (HolisticThinking) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) และหลักการพึ่งตนเอง (Self-sufficiency) องค์ประกอบด้านกระบวนการบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ (Decision - making D) ด้านการวางแผน (Planning - P) ด้านการปฏิบัติการ (Operating - O) ด้านการประเมินผล (Evaluating - E) และด้านการปรับปรุงแก้ไข (Appropriateacting - A)
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า องค์ประกอบด้านหลักการบริหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ หลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา หลักการพึ่งตนเอง หลักการมองโดยองค์รวม และหลักการมีส่วนร่วม โดยหลักความโปร่งใส มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนองค์ประกอบด้านกระบวนการบริหาร ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการปรับปรุงแก้ไข มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ และด้านการวางแผน โดยด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.3 ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า องค์ประกอบด้านหลักการบริหาร ในภาพรวม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาหลักการพึ่งตนเอง มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก หลักการมองโดยองค์รวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผลการประเมินความเป็นไปได้ ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง องค์ประกอบด้านกระบวนการบริหาร พบว่า ในภาพรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ด้านการปรับปรุงแก้ไขค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการตัดสินใจ มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก โดยด้านการปฏิบัติการ ค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.4 การนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ แนวคิด และหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
3.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน โดย เรียงลำดับดังนี้ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ
3.2 ผลการประเมินประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า ผลการประเมินตนเองการประกันคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง สรุปได้ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีระดับคุณภาพดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม และมาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
3.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า ระดับความพึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้องต่อผลผลิต/ผลลัพธ์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า องค์ประกอบด้านสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือองค์ประกอบด้านบุคลากรของสถานศึกษา และองค์ประกอบด้านผู้บริหารสถานศึกษา มีความพึงพอใจในระดับมากทุกองค์ประกอบ