บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21
ในการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า)
ชื่อผู้วิจัย นางศิวพร ยืนชนม์
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า)
ปีที่วิจัย 2561
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) 2) เปรียบเทียบความรู้ของครูหลังการอบรมเรื่องการใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ศึกษาความ พึงพอใจของครูที่มีต่อทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียน 4) ศึกษาคุณภาพผู้เรียนก่อนและหลังการใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียน ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินสภาพปัจจุบันและความต้องการในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) 2) คู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) 3) แบบประเมินคู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) 4) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้การใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) ที่มีความเชื่อมั่น .87 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษ ที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) ที่มีค่าความเชื่อมั่น .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) / การทดสอบค่าที (One Sample t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
สภาพปัจจุบันและความต้องการในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๕
(บ้านตลาดเก่า) พบว่า สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39 , S.D. = .129) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านทักษะการพัฒนาลักษณะนิสัยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.54 , S.D. = .210) รองลงมา คือ ทักษะการบริหารจัดการชั้นเรียน ( = 3.50 , S.D. = .205) และทักษะการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ( = 3.15 , S.D. = .205) สำหรับความต้องการในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2 ด้าน คือ ทักษะการการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน และทักษะการพัฒนาลักษณะนิสัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะการบริหารจัดการชั้นเรียน
ความรู้ของครูหลังการอบรมเรื่องการใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่า คะแนนจากการประเมินความรู้ความเข้าใจของครูหลังการอบรมเรื่องการใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียนสูงกว่า ร้อยละ 80 (32 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ความพึงพอใจของครูที่มีต่อทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียน พบว่า ความพึงพอใจของครูที่มีต่อทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยทักษะการพัฒนาลักษณะนิสัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ทักษะการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะการบริหารจัดการชั้นเรียน
คุณภาพผู้เรียนก่อนและหลังการใช้ทักษะ 3C ตามกระแสสมัยศตวรรษที่ 21 ในการบริหารจัดการชั้นเรียน พบว่า 1) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไปของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 คิดเป็นร้อยละ 4.14 จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์สูงสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไป ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 คิดเป็นร้อยละ 10.69 จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์สูงสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รองลงมา คือ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 มีค่าพัฒนาร้อยละ 1.86 โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าร้อยละสูงสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าร้อยละต่ำสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 4) ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 มีค่าพัฒนาร้อยละ 3.06 โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าร้อยละสูงสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าร้อยละต่ำสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์