รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน ทำนบแพ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2561 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ด้านผลผลิต (Output) และประเมินด้านผลลัพธ์( Outcomes) ของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมิน IPO ของพิสณุ ฟองสี มาเป็นรูปแบบในการประเมิน ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนทำนบแพ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร รวมทั้งสิ้นจำนวน 122คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ 1) ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 2) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 3) ประเมินด้านผลผลิต (Output) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 4) ประเมินด้านผลลัพธ์( Outcomes) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการแบบมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการวิเคราะห์เนื้อหา (Contenr Analysis) สรุปผลการประเมิน ดังนี้
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า ระดับความเหมาะสม/พอเพียง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับได้แก่ ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความพร้อมของบุคลากร และความพอเพียงของทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความพอเพียงของงบประมาณ
2. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) พบว่า กระบวนการดำเนินงาน มีระดับการปฏิบัติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับได้แก่ การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินกิจกรรมตามแผน และกระบวนการวางแผนกำหนดงาน/ปฏิทินปฏิบัติงาน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การกำกับนิเทศติดตามประเมินผลกิจกรรม
3. การประเมินด้านผลผลิต (Output) พบว่า ด้านพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของนักเรียน ระดับความคิดเห็น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับ ได้แก่ นักเรียนมีทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งเท่ากับ นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้กับครูผู้สอนและเพื่อนได้อย่างมั่นใจ รองลงมาคือ นักเรียนเป็นผู้มีนิสัยรักการอ่าน และ นักเรียนเป็นผู้ที่มีวินัยและรับผิดชอบในการเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนมีมีทักษะการสังเกต
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนทำนบแพ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2561 พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2561 เพิ่มขึ้นจาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2560 ทุกรายวิชา เมื่อพิจารณาเป็นรายวิชาเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยสามลำดับ ได้แก่ วิชาที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดคือวิชาวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.55 รองลงมาคือ วิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.47 และ วิชาภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.05 ส่วนวิชาที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นอันดับสุดท้ายคือ วิชาภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51
ด้านผลการประเมินระดับชาติ(ONET)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2561 พบว่า ผลการประเมินผลการประเมินระดับชาติ(ONET)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2560 ทุกรายวิชา โดยพิจารณาเป็นรายวิชาพบว่า รายวิชาที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงสุด คือรายวิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.33 รองลงมาคือ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ2.86 และรายวิชาที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นอันดับสุดท้ายคือรายวิชาภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61
ด้านผลการประเมินระดับชาติ(NT )ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2561 พบว่าในปีการศึกษา 2561ผลการประเมินระดับชาติ(NT ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2560 ทุกด้าน โดยพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงสุด คือความสามารถด้านคำนวณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.27 รองลงมาคือ ความสามารถด้านภาษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.90 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นอันดับสุดท้ายคือความสามารถด้านเหตุผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.32
4. การประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes) พบว่า ผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับได้แก่ นักเรียนเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และ นักเรียนมีผลการประเมินระดับชาติ NT /O-NETสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา ส่วนข้อที่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ในโครงการ ส่งเสริมให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์ด้านประโยชน์ทางด้านวิชาการในสถานศึกษา ระดับความคิดเห็น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีเครือข่ายประสานความร่วมมือ ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกับองค์กรเอกชนและชุมชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมาคือ มีกลุ่มเครือข่ายผู้ปกครองร่วมมือ ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและ โรงเรียนมีการประสานความร่วมมือ กับสถานศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตด้านความช่วยเหลือในการพัฒนาผลการประเมินระดับชาติ NT/O-NET ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีเครือข่ายโรงเรียนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน