การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการออกแบบ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์
ในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 และ 3) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัดในออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม
เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู 127 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ในออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 47 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นด้านสภาพปัจจุบันในออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน เท่ากับ .93 และมีค่าความเชื่อมั่นด้านสภาพพึงประสงค์ในออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน เท่ากับ .92 ระยะที่ 3 พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลไดแก ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจำนวน 7 ข้อ และแบบประเมินโปรแกรมพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าได้ 7 องค์ประกอบ 47 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) การศึกษาปัญหา/ความต้องการของผู้เรียน มี 5 ตัวชี้วัด 2) การกำหนดวัตถุประสงค์
มี 7 ตัวชี้วัด 3) การกำหนดเนื้อหา/สาระ มี 9 ตัวชี้วัด 4) การกำหนดยุทธศาสตร์ วิธีการสอน มี 4 ตัวชี้วัด 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อ มี 15 ตัวชี้วัด 6) การกำหนดวิธีวัดผลการเรียนรู้และประเมินผล มี 5 ตัวชี้วัด และ 7) การนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุง มี 2 ตัวชี้วัด
2. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่าสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และสภาพที่พึงประสงค์
โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) โปรแกรมพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบ
ความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มี 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) การศึกษาปัญหา/ความต้องการของผู้เรียน
2) การกำหนดวัตถุประสงค์ 3) การกำหนดเนื้อหา/สาระ 4) การกำหนดยุทธศาสตร์ 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อ 6) การกำหนดวิธีวัดผลการเรียนรู้และประเมินผล และ 7) การนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุง และโปรแกรมได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้และด้านความสมเหตุสมผลอยู่ในระดับมาก