1. ชื่อเรื่องการวิจัย
การใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1 -10
2. ความสำคัญของปัญหา
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ การส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ สำหรับเด็กจึงมี ความสำคัญ ครูนับว่าเป็นบุคลหนึ่งในการส่งเสริมและจักกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องและ เหมาะสมกับ
เด็ก โดยให้เด็กเข้าใจทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เพราะคณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญ ในชีวิตประจำวัน
และธรรมชาติของเด็กปฐมวัยรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกของเล่น การนับของเล่น เด็กจะเรียนรู้จักการใช้เงิน เด็กชอบท่องจำขณะที่การนับ 1 2 3 เด็กจะเรียนรู้การนับไปโดยไม่รู้ตัว
เลข 1 2 3 ที่เด็กนับจะยังไม่มีความหมายสำหรับเด็ก จนเมื่อได้ นำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆเช่น การซื้ออาหาร การซื้อสิ่งของต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน
จากผลการประเมินพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2559 พบว่านักเรียนปี การศึกษา 2559 ส่วนใหญ่มีพัฒนาการด้านการบอกแสดงค่าของจำนวน 1 -10 ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ ดังนั้นในฐานะที่ผู้วิจัยรับผิดชอบการจัดประสบการณ์จึงเห็นว่านักเรียนดังกล่าวควร ได้รับการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1 -10 ให้แม่นยำยิ่งขึ้น
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1 -10 ของเด็กปฐมวัยการใช้กิจกรรม
เกมการศึกษา
4. สมมติฐานของการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยที่ไดรับการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา มีทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1 -10 เพิ่มขึ้น
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1 -10 ของเด็กปฐมวัยโรงเรียน
บ้านคลองดินเหนียว
2. เป็นข้อสนเทศสำหรับหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ใน
การแกปญหาและพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1 -10 ของเด็กปฐมวัย
3. เป็นประโยชนสำหรับครูอาจารย์ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านคลองดินเหนียว ในการร่วมกันปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1 -10 ของเด็กปฐมวัย
6. ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านคลองดินเหนียว จำนวน 8 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1 -10
ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1 -10
ระยะเวลา
การวิจัยครั้งนี้ทำการทดลอง กับเด็กปฐมวัย ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านคลองดินเหนียว อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา โดยใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์
7. คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหวาง 56 ป กำลังศึกษา กำลังศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 2 ปการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านคลองดินเหนียว อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา กิจกรรมเกมการศึกษา หมายถึง เกมการศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านการ เล่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าจำนวน 1 - 10
8. กรอบแนวคิดการวิจัย
ในการศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนาความรับผิดชอบในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการ เสริมแรงทางบวก ผู้ศึกษาได้กำหนดตัวแปรที่ศึกษาดังต่อไปนี้
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
กิจกรรมเกมการศึกษา ทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1 - 10
1) เกมจับคู่ตัวเลขกับตัวเลข
2) เกมจับคู่ตัวเลขกับภาพ
9. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
2. แบบทดสอบ เกมการศึกษาการบอกค่าจำนวน 1 - 10
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
- แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นตอนในการสรางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ
2. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการเข้ากับหน่วยการ เรียน ตามความเหมาะสม
- แบบทดสอบ เกมการศึกษาการบอกค่าจำนวน 1 - 10
ขั้นตอนในการสร้างแบบทดสอบ เกมการศึกษาการบอกค่าจำนวน 1 10 ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ
2. จัดทำแบบทดสอบ ประกอบด้วย แบบทดสอบ เกมการศึกษาจับคู่ตัวเลขกับตัวเลข แบบทดสอบ เกมการศึกษาจับคู่ตัวเลขกับภาพ
10. วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เป็น เวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน โดยมีแผนการดำเนินการ ดังนี้
1. ขอความรวมมือกับผูบริหารโรงเรียนในการทําวิจัย
2. วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการประเมินพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2559
5. ผูวิจัยดำเนินการทดลองดวยตนเองโดยทดลองสัปดาหละ 5 วัน วันละ 20 นาที ในชวงเวลา กิจกรรมเกมการศึกษาของทุกวัน จนสิ้นสุดการทดลอง
6. เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองแล้วผู้วิจัยดำเนินการประเมินผลหลังการทดลอง
7. ทดสอบสมมติฐานกอนการทดลองและหลังการ ทดลอง
11. การวิเคราะห์ข้อมูล
การพัฒนากิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจํานวน 1 10 มีการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) วิเคราะห์ผลการประเมิน โดยการหาค่าความถี่
เกณฑ์การประเมิน
ปฏิบัติได้ 9-10 ครั้ง ดีมาก
ปฏิบัติได้ 7-8 ครั้ง ดี
ปฏิบัติได้ 5-6 ครั้ง พอใช้
พอใช้ ปฏิบัติได้ น้อยกว่า 5 ครั้ง ต้องปรับปรุง
สำหรับเกณฑ์การตัดสินที่ผ่านการประเมินการพัฒนาส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของ จำนวน 1 10 โดยใช้เกมการศึกษา จะต้องได้ระดับคุณภาพในระดับดีขึ้นไป
12 . ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1 10 ของเด็กปฐมวัยการใช้กิจกรรม
เกมการศึกษา
ที่ ชื่อ สกุล ครั้งที่ประเมิน รวม แปลผล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
1. เด็กชายณัฐวุฒิ หลีช่วย √ √ √ √ √ √ √ √ √ 9 ดีมาก
2. เด็กชายศักรินทร์ บ้านนบ √ √ √ √ √ √ 6 พอใช้
3. เด็กชายศิวรักษ์ นาวีว่อง √ √ √ √ √ √ √ √ √ 9 ดีมาก
4. เด็กชายอัสรี ชาวน้ำ √ √ √ √ √ √ 6 พอใช้
5. เด็กหญิงนัทมีนา มาตรักษา √ √ √ √ √ √ √ √ 7 ดี
6. เด็กหญิงสุธาริน บ่อหนา √ √ √ √ √ √ √ √ √ 9 ดีมาก
7. เด็กหญิงสุวรรณี พูลศิลป์ √ √ √ √ √ √ √ 7 ดี
8. เด็กหญิงอิซรอ ดำนาดี √ √ √ √ √ √ √ 7 ดี
จากตารางที่ 1 พบว่าเด็กปฐมวัยที่ไดรับการฝึกปฏิบัติโดยการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา มีทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน 1 10 เพิ่มขึ้น อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 3 คน อยู่ในระดับดี จำนวน 3 คน อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 2 คน อยู่ในระดับต้องปรับปรุง จำนวน ...........-..........คน
13. สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ไดรับการฝึกปฏิบัติโดยการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา มีทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจำนวน1 -10 เพิ่มขึ้น เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
14. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.ควรมีการเตรียมสื่อ อุปกรณ์ในการเล่นเกมให้พร้อมสำหรับเด็กทุกคน
2.มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3.ในการนำไปใช้ควรมีการนำเกมการศึกษาไปทดลองก่อนใช้
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ คุรุสลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. (2540). แนวการจัดกิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนระดับก่อนประถมศึกษา.
กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ:
เบรน-เบสบุ๊คส์.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2550). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ธรรมนูญ นวลใจ. ดร. (2541). หัวใจแห่งการศึกษาสำหรับเด็กวัย15 ขวบ. กรุงเทพฯ :
สํานักพิมพ์คําแก้ว.
ธีรนาฏ เบ้าคำ. (2553). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เสริมด้วยเกมการศึกษาที่มี
ต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุดรธานี.
ทิพวรรณ สุขผล. (2553). การพัฒนาชุดฝึกพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่2. วิทยานิพนธ์
ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เยาวพา เตชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค
พับลิเคชั่นส์.
สุวิมล อุดมพิริยะศักดิ์. (2547). การดูแลและการเรียนรู้และการเล่นของเด็กเล็ก. กรุงเทพฯ : บริษัทตาวัน
พับลิชชิ่งจำกัด.