บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผล .50 ขึ้นไป 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 18 คน โรงเรียนโตนดพิทยาคม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมได้แก่
1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ใส่ใจโภชนาการ จำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องใส่ใจโภชนาการ ซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความ
พึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริม
การบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าทดสอบที(t test) ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนกระบวนการต่อผลลัพธ์(E1 /E2) และค่าดัชนีประสิทธิผล(E.I.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพ 83.93/82.08
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.615
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีระดับความพึงพอใจหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้รูปแบบ
การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย( )เท่ากับ 4.58 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ 0.62