ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด
โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวลัดดาวัลย์ นาขันที
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด จำนวน 8 ชุด มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (4.65) 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 16 แผน ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (4.65) 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.82 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ
(E /E ) เท่ากับ 83.65/82.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุปการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนมีทักษะด้านการอ่าน การเขียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีความรู้ที่คงทนมากขึ้น รวมถึงมีความสุข สนุกกับการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาไทย สามารถนำไปพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ