|
|
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน 2) นำเสนอชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา และ 4) ประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ครูผู้สอนโรงเรียนท่าศาลาจำนวน 15 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับสอบถามความคิดเห็น และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) แบบบันทึกการวิจัยในชั้นเรียน และ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน จากการสังเคราะห์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวข้อง พบว่า ประกอบด้วย 1)ด้านวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 2) ด้านการร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) 3) ด้านร่วมเป็นผู้นำ (Shared Leadership) 4) ด้านการเรียนรู้ของทีม (Team Learning) 5) ด้านการสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflective Dialogue) 6) ด้านการเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development) 7) ด้านชุมชนกัลยาณมิตร (Caring Community) 8) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure) และ 9)ด้านการเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) และผลจากการสังเคราะห์การสอบถามความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ประกอบด้วย1)ด้านวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 2) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure) 3) ด้านการร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) 4) ด้านการเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) และ 5) ด้านการเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development) และ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการสอบถามความคิดเห็นครูผู้สอนโรงเรียนท่าศาลา ได้แก่ 1)ด้านวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure) จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 3) ด้านการร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 4) ด้านการเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 และ 5) ด้านการเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00
2. นำเสนอชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา พบว่า ความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นด้วยว่ามีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา และคู่มือการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100 และจากการสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีของด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การสังเคราะห์การสอบถามความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ข้อสรุป ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา 5 ด้าน เรียกว่า SCEPS โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) 2) การร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) 3) การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน (Expert Advice and Study Visit) 4) การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning and Development 5) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive Structure)
3. ผลการทดลองใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา พบว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลา จำแนกรายด้าน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โครงสร้างสนับสนุนชุมชน อยู่ในระดับมาก วิสัยทัศน์ร่วม อยู่ในระดับมาก และลำดับต่ำสุดได้แก่ การร่วมมือร่วมพลังและการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก และ ผลการการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนท่าศาลาจำแนก รายด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ส่งเสริมเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก และลำดับต่ำสุดได้แก่ ส่งเสริมทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน
4.ผลการประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียน ท่าศาลา พบว่า ผลการประเมิน จำแนกรายด้าน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับต่ำสุดได้แก่ ความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก
|
โพสต์โดย บุญ : [26 ก.ค. 2562 เวลา 07:33 น.] อ่าน [4935] ไอพี : 223.204.82.31
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 11,902 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,367 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,965 ครั้ง
| เปิดอ่าน 242,771 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,782 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,091 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,656 ครั้ง
| เปิดอ่าน 52,049 ครั้ง
| เปิดอ่าน 27,009 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,305 ครั้ง
| เปิดอ่าน 23,899 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,170 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,521 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,352 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,438 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 25,344 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,788 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,791 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,098 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,510 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|