ชื่อเรื่อง : การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4
(บ้านทุ่งคาเกรียน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัย : สุพร เจียรชัย , โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทุ่งคาเกรียน) อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุ
ราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2560.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทุ่งคาเกรียน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) สร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น และ 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความต้องการสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตร แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบประเมินทักษะทางภาษาอังกฤษ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระและค่าเฉลี่ยร้อยละ ( %)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้หลักสูตร แหล่งข้อมูลที่ใช้การวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ที่ จำนวน 31 คน ที่เรียนในหลักสูตรที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนต้องการให้จัดทำสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คือ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลของบุคคล 2) เนื้อหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา 3) เนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการซื้อขายสินค้าและเทศกาลวันสำคัญ และ 4) เนื้อหาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม มาใช้ในก และต้องการให้ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่มีเนื้อหาง่าย น่าสนใจสามารถนำไปใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติ ได้จริง
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบคือ ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร จุดหมายของหลักสูตร เกณฑ์การใช้หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา การจัดหน่วยการเรียนรู้จำนวน 4 หน่วย โครงสร้างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 40 ชั่วโมง หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากขึ้นไปทุกด้านและองค์ประกอบต่าง ๆมีความสอดคล้องกันทุกข้อ
3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านทักษะทางภาษาอังกฤษมีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 80.99 และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียน มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 83.80 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากหลักสูตรที่สร้างขึ้นอยู่ในอยู่ระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด