ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 6 (วัดธรรมสามัคคี)
ผู้วิจัย นางจีระนันท์ ศิริเลิศ
ที่ปรึกษา นายประเสริฐ พิมลสมสกุล ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเมืองพัทยา 6 (วัดธรรมสามัคคี)
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดประสบการณ์เพื่อ
เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่ 2 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยการวิจัยมี 3 ระยะคือ 1) ศึกษาเอกสารและบริบทในการจัดประสบการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนเมืองพัทยา 6 (วัดธรรมสามัคคี) เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีจำนวน 69 คนเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 33 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t - test
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาและนำมาใช้ในการออกแบบวิจัย
จำนวน 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญา
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยประกอบด้วยแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานวัตถุประสงค์ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเล่นระบบสังคมหลักการตอบสนองระบบสนับสนุนและมีขั้นตอนการจัดประสบการณ์ 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นจัดประสบการณ์ 3) ขั้นสรุปและประเมินผลซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.07/80.87 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6229
3. ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้าน ครั้งที่ 1
โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้าน ครั้งที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยสูงกว่า ครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ผลการเปรียบเทียบความคงทนของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านหลังจัดประสบการณ์ 2 สัปดาห์และครั้งที่ 2 ไม่แตกต่างกันคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยในการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยสูงกว่าการจัดประสบการณ์ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และครูผู้สอนเห็นด้วยกับการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การละเล่นของไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมากที่สุด