ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสุวรรณา เนื่องกระโทก ตำแหน่ง ครู
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูล คือ เอกสารพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา พุทธศักราช 2552 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เอกสารการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ และผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจ แหล่งข้อมูล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือLTเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับความต้องการของการจัดการศึกษาตามแนวคิด ทฤษฎี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา พุทธศักราช 2552 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษาและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ และผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องการให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพราะรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีลำดับขั้นตอนในการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย มีคำแนะนำหรือวิธีการใช้ที่ชัดเจน บอกบทบาทหน้าที่ของ นักเรียนในการเรียนได้เป็นอย่างดี รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชาการ เนื้อหามีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6). ระบบการสนับสนุน 7) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ และ 8) ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ มีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นชวนคิด (Preparation) ขั้นที่ 2 ขั้นชวนรู้ (Presentation) ขั้นที่ 3 ขั้นชวนฝึก (Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นชวนเสนอ (Production) และขั้นที่ 5 ขั้นชวนประเมิน(Performance Assessment) มีผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด และความสอดคล้องของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ทดลองใช้กับกลุ่มภาคภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพ 81.37/80.47 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
3.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ 81.44/80.89 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3.2 ผลการประเมินความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนจากการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นของกลุ่มตัวอย่าง หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว
การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประสานกลุ่มร่วมมือ LT เพื่อส่งเสริมความสามารถด้าน
การเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด