บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน
บ้านหนองตาด
ผู้ประเมิน นางศศิธร ดาทอง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองตาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
เพชรบูรณ์ เขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ในครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและดำเนินการรูปแบบการประเมินโครงการโดยใช้ซิปโมเดล ( CIPP Model ) มีวัตถุประสงค์ในการประเมิน ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ( Context Evaluation ) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ ( Process Evaluation ) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต ( Product Evaluation ) 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน และนักเรียนจำนวน 30 คน รวมทั้งหมด 93 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการพบว่า
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ใช้รูปแบบการประเมินโครงการโดยใช้ซิปโมเดล ( CIPP Model ) ประกอบด้วย การประเมิน 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ( Context Evaluation ) 2) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ( Input Evaluation ) 3) การประเมินด้านกระบวนการ ( Process Evaluation ) และ 4) การประเมินด้านผลผลิต ( Product Evaluation ) ผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง นักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการ และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านทรัพยากร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบุคลากร
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านส่งต่อ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การคัดกรองนักเรียน
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประเมินโดยนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยนักเรียนครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแก่นักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การประเมินพฤติกรรมตนเองตามแบบประเมินพฤติกรรม(SDQ) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแก่นักเรียนด้านการประพฤติปฏิบัติตน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยนักเรียนรักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสม
6. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประเมินนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยนักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทุกชนิด
7. ผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านหนองตาด ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยนักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพให้สมบูรณ์ทั้งอารมณ์ สังคม และสติปัญญา และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้ปกครองชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน