ผู้วิจัย พีรดา ศรีพั้ว
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) สร้างและหาคุณภาพของพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
จิต-วิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกแบบมีจุดมุ่งหมาย (purposeful sampling) จำนวน 5 คน สำหรับตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ ระยะที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 1 เชิงชุมประชานุกูล สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้จากการเลือกสุ่มอย่างง่าย
(Simple random sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก มีจำนวนนักเรียน 34 คน ใช้สำหรับศึกษา
ผลการใช้รูปแบบโดยใช้การทดลองแบบวัดซ้ำในกลุ่มเดียว (repeated measures design)
ค่าสถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
แบบวัดซ้ำ (one-way repeated measures ANOVA) และทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของ Bonferroni และสถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้
และการวัดและประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้มี 9 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 เริ่มเรียนรู้ ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 4 เลือกวิธีการ ขั้นที่ 5 ออกแบบและปฏิบัติการ ขั้นที่ 6 ทดสอบ ขั้นที่ 7 ปรับปรุงแก้ไขขั้นที่ 8 ประเมินผล และขั้นที่ 9 นำเสนอและสะท้อนผล ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามีความเหมาะสมระดับมาก ( x̄ = 4.24,
S.D. = 0.58)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า (1) คะแนนทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน เมื่อวัดในช่วงเวลาต่างกัน มีระดับคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (F=254.82,p=.00) โดยผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (4.44) และระหว่างการทดลอง (1.32) และผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (3.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) คะแนนจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
เมื่อวัดในช่วงเวลาต่างกัน มีระดับคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (F=1139.40,p=.00) โดยผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (35.38) และระหว่างการทดลอง (10.05) และผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างการทดลองสูงกว่า
ก่อนการทดลอง (25.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้สูงกว่า
ก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.88
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.64 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.04 และ (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.59, S.D = 0.58) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.63, S.D = 0.56) รองลงมาคือ ด้านบทบาทผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.61, S.D = 0.57) และด้านบทบาทผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.60, S.D = 0.58) ด้านวิธีการ
จัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.60, S.D x̄= 0.57) ส่วนด้านประโยชน์
ที่ผู้เรียนได้รับ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด แต่อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.51, S.D = 0.65)